สนทนาสิ่งแวดล้อม

OTOP

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

๑. ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
๑.๑ นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง สิ่งที่ประยุกต์สร้างสรรค์ ดัดแปลง และคิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งครอบคลุม แนวคิด หลักปฏิบัติ ระบบ กระบวนการ ที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หรือใช้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการบริหาร วิชาการ และการบริการทางการศึกษา
๑.๒ เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) คำว่าเทคโนโลยีมีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ Techno + Logos หมายถึง ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือ วิทยาศาสตร์ทางเทคนิควิธี เมื่อนำมาใช้ในคำศัพท์ว่า “เทคโนโลยี” จึงหมายถึงวิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาเป็นวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่างๆ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตของบุคคล และสังคม
๑.๓ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (Innovation and Educational Technology) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่างๆ ที่ได้ประยุกต์และสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างเป็นระบบจากวิทยาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และได้ผ่านกระบวนการทดสอบและทดลองจนเป็นที่ยอมรับขององค์กร
๒. พัฒนาการของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

๒.๑ ระยะที่ใช้ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ การศึกษาในยุคต้นๆ เป็นการศึกษาวิธีธรรมชาติ คือ เป็นวิธีการถ่ายทอดโดยตรงจากพ่อแม่สู่ลูก จากผู้ใหญ่สู่เยาวชน โดยวิธีฝึกหัดจากการปฏิบัติจริง เป็นต้น ต่อมาในยุคการค้าอุตสาหกรรมและวิศวกรรมศาสตร์ได้เจริญพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้มีผลิตผลจากการประยุกต์ศาสตร์เหล่านี้ขึ้นมามากมาย เช่น เทคโนโลยีการพิมพ์ การถ่ายภาพนิ่ง ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ประกอบกับสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องฝึกเยาชนจำนวนมากให้มีความรู้และความชำนาญเหมือนๆกัน ซึ่งเป็นระบบที่ผู้สอนคนหนึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อการสอนผู้เรียนจำนวนมาก การนำวัสดุและอุปกรณ์จากผลผลิตทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมาใช้เป็นเครื่งช่วยในการถ่ายทอดประสบการณ์ในชั้นเรียน จึงเป็นช่องทางที่จะทำให้การศึกษาดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๒ ระยะยึดพฤติกรรมศาสตร์เป็นหลัก วิทยาการต่างๆของโลกได้พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วมากนับจากยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา เป็นผลให้การเรียนการสอนในช่วงเวลานี้ แม้ผู้สอนจะใช้เครื่องมือโสตทัศนศึกษาต่างๆ เข้าช่วยก็ไม่อาจครอบคลุมเนื้อหาสาระได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นมาใหม่ได้ ดังนั้นวิธีทางการศึกษาในระยะนี้จึงมีการเปลี่ยนแปลงมาเน้นการวางแผนทางการศึกษาโดยคำนึงถึงข้อมูลป้อนเข้า(Input) กระบวนการ(Process) และผลลัพธ์ที่ต้องการ(Output) ให้มีความสอดคล้องกับหลักการของกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ แล้วเลือกนำเสนอโดยสื่อทัศนูปกรณ์ที่เหมาะสมกับแต่ละขั้นตอนให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แนวปฏิบัติในการวางแผนทางการศึกษานี้ ทำให้เกิดวิธีระบบ (Systems Approach) ขึ้น๒.๓ ระยะที่ใช้วิทยาการการจัดระบบเป็นหลัก ช่วงเวลานี้เป็นระยะเชื่อมต่อระหว่างสังคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาสู่ระบบสังคมข่าวสาร ซึ่งเป็นสังคมที่มีระบบสารสนเทศเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ สังคมโลกสามารถประสานสัมพันธ์ และดำเนินกิจการทุกอย่างร่วมกันได้อย่างไร้พรมแดน
๓. ขอบข่ายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ได้พัฒนามาจนถึงยุคสังคมข่าวสารในปัจจุบัน ทำให้เกิดขอบข่ายภาระและหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษาที่เรียกชื่อว่า นักโสตทัศนศึกษา นักเทคโนโลยีการศึกษา นักนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา หรือ นักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มีขอบข่ายครอบคลุม ๗ ด้าน ได้แก่

(๑) นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดและออกแบบระบบ
(๒) นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านวิธีการทางการศึกษา
(๓) นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้นพฤติกรรมการศึกษา
(๔) นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและสื่อการศึกษา
(๕) นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดการศึกษา
(๖) นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
(๗) นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการประเมินทางการศึกษา
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญอย่ายิ่งที่จะทำให้เกิดการพัฒนาก้าวหน้าไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เพราะนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ส่วนเทคโนโลยีเป็นการนำเอาสิ่งต่างๆ รวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงานหรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สถานศึกษาจึงควรส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งมีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่า เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย

http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.phpoption=com_content&task=view&id=58&Itemid=34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น